อาชีพ สถาปนิก

สถาปนิก

1.ลักษณะการทำงาน
 คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร     เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น

2. คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ
 1.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์    มีจินตนาการในการออกแบบและมีความ สามารถในการวาดภาพเพื่อสื่อความคิดในใจออกมาเป็นรูปธรรมได้พอสมควร
 2.มีความสามารถในการประยุกต์ที่ดี   เพราะต้องนำเอาศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการและเทคโนโลยีมาผสมผสานกันให้สอดคล้องได้
 3.มีความละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกตและประณีต     เพราะงานออก แบบเป็นเรื่องในเชิงศิลปะและการสร้างประดิษฐ์
 4.มีมนุษย์สัมพันธ์ดี     ในการติดต่อประสานงาน เพราะเมื่อทำงานจะต้อง ติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องและจะสำเร็จลุล่วงดีได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายดังนั้นในทุกขั้นตอนต้องไม่ให้มีความขัดแย้งกัน

3.เเนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
 จบ ม.ปลายสายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใชเวลาเรียน ปี หรือจบระดับ ปวส. ทางด้านการเขียนแบบ แล้วฝึกงานในสำนักงานสถาปนิก หรือศึกษาต่อเพื่อให้ได้ปริญญาทางสถาปัตยกรรม
4. ความก้าวหน้าในงานอาชีพ รายได้ เเละสวัสดิการ
อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานใน ภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลัก สูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้
5.ปัญหา หรือุปสรรคที่อาจจะพบในการประกอบอาชีพ
1.ขาดความพร้อมในการทำงาน
          บางคนมาทำงาน แต่ยังทำตัวเป็นเด็ก ๆ ทำงานแบบเด็ก ๆ ไม่มีความรับผิดชอบมากพอ เมื่อคุณก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน คุณควรบอกตัวเองว่าตอนนี้คุณคือผู้ใหญ่แล้ว คุณไม่ใช่เด็กอีกต่อไป คุณจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ อย่าลืมว่าคุณจะต้องพิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่า คุณมีความสามารถและสามารถผ่านการทดลองงานได้
2.ไม่ชำนาญในงานที่ทำ
          เนื่องจากคุณเพิ่งเรียนจบ และงานที่คุณได้รับมักเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ ไม่เคยทำ ไม่เคยเรียนมาก่อน เรื่องความชำนาญจึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง คุณอาจรู้สึกว่างานยากเกินไปสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณเรียนรู้มันสักระยะหนึ่ง คุณจะรู้สึกชินกับมัน และสามารถทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น
3.ขาดกำลังใจ
          เวลาที่เจอกับงานยาก บางครั้งคุณอาจรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ จนคิดว่าคุณไม่มีความสามารถ คุณไม่อาจทำมันให้สำเร็จได้อย่างที่นายจ้างต้องการ หากความรู้สึกนี้เกิดขึ้น คุณควรจะเติมความมั่นใจให้ตัวเองให้เต็ม และหมั่นเติมอยู่เรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกขาดกำลังใจมาบั่นทอนคุณ ถ้านายจ้างคุณคิดว่าคุณทำไม่ได้ เขาคงไม่ให้คุณทำงานนี้หรอก ดังนั้น เมื่อเขามั่นใจในตัวคุณ แล้วไยคุณถึงไม่มั่นใจในตัวเองล่ะ
4.ทีมไม่เวิร์ก
          การทำงานเป็นทีมคือการรวมตัวของคนหลายคน จึงต้องมีการปรับตัวให้ทุก ๆ คน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แต่ก็อาจมีบ่อยครั้งที่คนในทีมทำงานคล่อมจังหวะกันบางคนช้าเกินไป บางคนเร็วเกินไป ควรจะต้องมีการตกลงทำความเข้าใจว่าจะทำงานกันอย่างไร จึงจะทำให้ทีมของคุณประสบความสำเร็จ
5.ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
คนที่เป็นพนักงานใหม่ แน่นอนจะต้องเป็นฝ่ายที่เข้าหาผู้อื่น เพื่อแนะนำตัวคุณให้ผู้อื่นรู้จัก และขอคำแนะนำจากพวกเขา เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งคุณก็จะมีเพื่อนมากมาย ที่เขาสามารถให้คำแนะนำ และช่วยเหลือคุณในเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ พนักงานใหม่บางคนขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยความขี้อาย พูดน้อย หรือมั่นใจในตัวเองมากจนไม่สนใจผู้อื่น คิดว่าตนเองสามารถอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียวได้ จึงทำตัวไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดู และในที่สุดก็จะถูกโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมงาน ในทางกลับกันคนที่รู้จักเข้าหาผู้อื่น มีนิสัยร่าเริง เข้ากับคนง่าย มักจะเป็นที่รักของคนในที่ทำงาน เมื่อต้องการความช่วยเหลือใด ๆ ก็จะมีแต่คนยินดีให้ความช่วยเหลือ
          ตอนนี้คุณได้ทราบแล้วว่า ลักษณะแบบใดที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ซึ่งไม่ใช่อื่นไกล ก็ตัวของคุณนั่นเอง ดังนั้นจึงควรเตรียมพร้อมก่อนทำงาน เพื่อที่คุณจะได้มีความสุขในการทำงาน และทำงานได้อย่างราบรื่น ประสบความสำเร็จ เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีอนาคตยาวไกล
6.เเนวโน้มความต้องการในอาชีพในอนาคต
จากการเปิดเผยข้อมูลของเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม (www.jobthai.com) ซึ่งได้วิเคราะห์ทิศทางการเติบโตของสาขาอาชีพในช่วงระหว่างปี 2557-2560 พบว่า อาชีพที่มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

1 งานผลิต-งานควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 33%

2 งานด้านบริการ คิดเป็น 17%

3 งานโยธา-สถาปนิก คิดเป็น 14%

4 งานการตลาด คิดเป็น 6%

5 งานวิศวกรรม คิดเป็น 3%
ซึ่งการที่กลุ่มงานผลิตและบริการมีอัตราความต้องการแรงงานเฉลี่ยเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในส่วนการผลิตได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการขยายตัวดีตามไปด้วย 

ในส่วน กลุ่มงานที่มีแนวโน้มการเติบโตลดลง ได้แก่ กลุ่มงานด้านภูมิศาสตร์ ลดลง 68%  งานสื่อสิ่งพิมพ์ ลดลง 57% งานอัญมณี-เครื่องประดับ ลดลง 45% และงานนักเขียน-บรรณาธิการ ลดลง 32% เนื่องมาจากแรงงานในกลุ่มงานดังกล่าว เริ่มถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยของผู้คนในสังคมทั่วโลก
7. คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม
สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ เป็นต้น
โดยระดับรายได้ของสถาปนิกมักจะขึ้นอยู่กับระดับตำแหน่ง ตั้งแต่ ผู้ช่วยสถาปนิก (Architect Assistant), สถาปนิกผู้น้อย  (Junior Architect), สถาปนิก (Architect), สถาปนิกอาวุโส  (Senior Architect), ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ  (Design Director , Architect Director)
และเนื่องจากในวิชาชีพสถาปัตยกรรมครอบคลุมสาขาต่างๆ ตั้งแต่ การวางแผนเมืองและสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ชุมชนและสถาปัตยกรรม การออกแบบชุมชนเมือง (สถาปัตยกรรมผังเมือง) สถาปัตยกรรมหลัก ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทุกอย่างที่จำเป็นในสังคมเอาไว้ ดังนั้นหากขาดอาชีพสถาปนิกไปโครงสร้างของเมืองอาจจะยุ่งเหยิง หรือ ความสุนทรียของอาคาร สิ่งปลูกสร้าง สภาพแวดล้อมก็จะขาดหายไป เพราะฉะนั้นอาชีพนี้ถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญและขาดไม่ได้ 
8.การสมัคร
คุณสมบัติพื้นฐาน
ประเภทของงาน : งานประจำ
จำนวน : ไม่ระบุ
เพศ : ชาย/หญิง
เงินเดือน(บาท) : สามารถเจรจาต่อรองได้
ประสบการณ์ : 2 - 10 ปี
สถานที่ : กทม. (ห้วยขวาง)
การศึกษา : ปริญญาตรี
คณะ : บริหารธุรกิจ
คณะ : สถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะ : สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
---------------------------------------------------------------
สมาชิกในกลุ่ม
ด.ช ธีรพัชร์ หิรัญธนกรพัฒน์ 2/5 เลขที่12
ด.ช กฤตธัช ช่วยทองสุข 2/5 เลขที่1
ด.ช ปวริศร์ อุษา 2/5 เลขที่14
---------------------------------------------------------------
เเหล่งอ้างอิง
https://www.jobtopgun.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81/s109401148?gclid=Cj0KCQiAtP_iBRDGARIsAEWJA8j11GA0EmKYJ4SEb71h3EEtWsyjVchsOXKnZrpzzByUVgiP62O-OVgaAm3aEALw_wcB

https://www.admissionpremium.com/arch/news/3551

https://sites.google.com/site/shogun28927/khunsmbati
https://nookky.wordpress.com/2012/02/19/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81/

ความคิดเห็น